วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่5

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่5
ด้านการปกครอง

ในระยะแรก พระองค์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยงวศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และได้สถาปนาโอรสองค์ใหญ่ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล นามว่า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ เมื่อพระองค์บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ผนวชอยู่ในสมณเพศ 15 วัน จึงลาสิกขาบทออกมาประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2416 จากนั้นทรงรับผิดชอบบริหารประเทศ โดยสิทธิ์ขาดมีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้ ตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภาได้แก่1. รัฐมนตรีสภา Council of State ประกอบด้วยขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยาทั้งหมด 12 คน มีพระองค์ท่านเป็นประธาน รัฐมนตรีสภามีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน รวมทั้งพิจารณาพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ ด้วย เหมือนสภานิติบัญญัติในปัจจุบัน2. องคมนตรีสภา Privy Council ประกอบด้วยสมาชิก 49 คน มีเชื้อพระวงศ 13 พระองค์ ทำหน้าที่เป็นสภา ที่ปรึกษา ราชการในพระองค์และมีหน้าที่ปฏิบัติราชการแผ่นดินตามแต่จะมีพระราชดำรัสปฏิรูปองค์การบริหารในส่วนกลางใหม่ดังนี้ เดิมมีอยู่ 6 กรม ได้แก่

- กรมมหาดไทย


-กรมกลาโหม

-กรมเมือง

- กรมวัง

-กรมท่า

-กรมนา

ตั้งขึ้นใหม่ 6 กรม ได้แก่ กรมพระคลัง กรมยุติธรรม กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ กรมยุทธนาธิการ และ กรมมุรธาธร รวมเป็น 12 กรม ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการเข้ากับ กระทรวงกลาโหม และ กระทรวงมุรธาธรรวมเข้ากับกระทรวงวัง คงเหลือ 10 กระทรวงดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทย


2. กระทรวงกลาโหม

3. กระทรวงนครบาล

4. กระทรวงการต่างประเทศ

5. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

6. กระทรวงวัง

7. กระทรวงเกษตราธิการ

8. กระทรวงยุติธรรม

9. กระทรวงโยธาธิการ
ในช่วงสมัยการเผชิญหน้ากับลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก ประเทศไทยได้มีความพยายามที่จะปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อลดกระแสกดดันจากประเทศแถบตะวันตกที่มุ่งขยายอิทธิพลเข้าครอบงำประเทศไทยให้ลดน้อยลงจนถึงระดับปลอดภัย การปรับตัวที่สำคัญประการหนึ่งของไทย คือ การปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) เพราะการปฏิรูปสังคมและการศึกษาได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475


1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา เพื่อให้ขุนนาง ข้าราชการ ได้คุ้นเคยกับการปกครองในรูปแบบใหม่ ทำให้ขุนนาง ข้าราชการได้รู้จักการแสดงความคิดเห็น รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มี 2 สภา คือ

1)สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาในเรื่องราชการแผ่นดิน การออกกฎหมายต่างๆ

2)สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาส่วนพระองค์เกี่ยวกับราชการต่างๆ

2.การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ใน พ.ศ.2430 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการเสด็จกลับจากดูงานการปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ได้ทรงทำบันทึกเสนอต่อรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงพิจารณาที่จะให้มีการปฏิรูปการปกครอง จึงได้ทรงจัดตั้งกรมขึ้นใหม่ 6 กรม เมื่อรวมกับที่มีอยู่แล้ว 6 กรม เป็น 12 กรม คือ

1)กรมมหาดไทย

2)กรมพระกลาโหม

3)กรมท่า

4)กรมวัง

5)กรมเมือง

6)กรมนา

7)กรมพระคลัง

8)กรมยุติธรรม

9)กรมยุทธนาธิการ

10)กรมธรรมการ

11)กรมโยธาธิการ

12)กรมมุรธาธิการ

กระทรวงต่าง ๆ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

1. กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้งหัวเมืองประเทศราศทางเหนือ


2. กระทรวงกลาโหม มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ กรมทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง

3. กระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับการต่างประเทศ

4. กระทรวงนครบาล มีอำนาจหน้าที่จัดการในเรื่องความปลอดภัยในพระนคร ดูแลรักษาบัญชีพลดูแลเกี่ยวกับคุก

5.กระทรวงวัง มีอำนาจหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องในราชสำนักและพระราาชพิธีต่าง ๆ

6. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาการเก็บภาษีอากรและการเงิน ที่เป็นรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน

7. กระทรวงเกษตรและพาณิชยการ มีอำนาจหน้าที่จัดการเรื่องเพาะปลูก การป่าไม้ การค้า รวมทั้งเรื่องโฉนดที่ดินซึ่งเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 5

8. กระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่จัดการเรื่องศาลทั้งปวง

9. กระทรวงยุทธนาธิการ มีอำนาจหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทหารบกและทหารเรือแบบยุโรป

10. กระทรวงธรรมการ มีอำนาจหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัญฑ์

11. กระทรวงโยธาธิการ มีอำนาจหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้างต่าง ๆ ตลอดจนการไปรษณีย์ โทรเลขและรถไฟซึ่งเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 5

12. กระทรวงมุรธาธร มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกรและหนังสือราชการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค โปรดฯให้จัดระเบียบบริหารราชการหัวเมืองใหม่ ให้ยกเลิกเมืองพระยามหานคร ชั้นเอก โท ตรี จัตวา และหัวเมืองประเทศราช โดยจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว ปรากฎว่าในปี พ.ศ. 2449 ได้จัดแบ่งพระราชอาณาจักรออกเป็น 18 มณฑลดังนี้ มณฑลลาวเฉียงหรือมณพลพายัพ มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มีศูนย์กลางอยู่ที่หนองคาย มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน

การปรับปรุงกฎหมายและการศาล


โปรดฯ ให้รวบรวมศาลที่สังกัดกระทรวงและไม่สังกัดทั้งหมด มาขึ้นกับกระทรวงยุติธรรมนับว่าเป็นการแยกอำนาจ ตุลาการ ออกจาก ฝ่ายบริหารได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย สิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขทางด้านการศาลมีดังนี้
1. ศาลในกรุง โปรดฯ ให้ตั้ง ศาลโปริสภา สำหรับทำหน้าที่เปรียบเทียบคดีความวิวาทของราษฎรที่เกิดขึ้นในท้องที่ และเป็นคดีที่มีโทษขนาดเบา ต่อมา ศาลโปริสภา ได้เปลี่ยนเป็น ศาลแขวง เมื่อ 1 ตุลาคม 2478

2. ศาลหัวเมือง โปรดฯ ให้จัดตั้งกองข้าหลวงพิเศษ ขึ้นคณะหนึ่งมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) เป็นประธาน จัดการแก้ไขธรรมเนียมศาลยุติธรรมทั่วพระราชอาณาจักร ให้เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด กองข้าหลวงพิเศษชุดนี้ มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ

2.1 จัดตั้งศาลยุตธรรมสำหรับพิจารณาคดีขึ้นตามหัวเมืองทั้งปวงเสียใหม่

2.2 ชำระสะสางคดีความที่ค้างอยู่ในศาลตามหัวเมืองต่าง ๆ ให้ห3. จัดแบ่งชั้นของศาล เพื่อให้ระเบียบการศาลยุติธรรมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อบเป็นหลักฐานมั่งคงยิ่งขึ้น ก็โปรดฯให้ตราพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ขึ้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2451 โดยแบ่งศาลออกเป็น 3 แผนก คือ

3.1 ศาลฎีกา

3.2 ศาลสถิตย์ยุติธรรมกรุงเทพฯ

3.3 ศาลหัวเมือง
สิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขทางด้านกฎหมาย มีดังนี้
1. ได้จ้างชาวต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย เข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษา เช่นดร. โรลัง ยัคมินส์ ชาวเบลเยี่ยม ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น เจ้าพระยาอภัยราชาสยามมานุกูลกิจนายโตกีจิ มาซาโอะ ชาวญี่ปุ่น ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น พระยามหิธรรมนูปกรณ์โกศลคุณนายวิลเลียม อัลเฟรด ติลเลเก ชาวศรีลังกา ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น พระยาอรรถการประสิทธิ์
2. ได้โปรดฯให้ตั้ง กองร่างกฎหมาย สำหรับทำหน้าที่ตรวจสอบชำระบรรดาพระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ตัวบทกฎหมายที่ทันสมัยตามแบบอารยประเทศ โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เป็นประธาน
3. ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวง ยุติธรรมเป็นผู้อำนวยการ ด้วยเหตุนี้ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ จึงได้รับการว่าเป็น พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย4. ยกเลิกการลงโทษแบบจารีตนครบาล จากผลการปฏิรูปการศาลและการชำระกฎหมายให้ทันสมัย ทำให้ การพิจารณาคดีแบบจารีตและวิธีลงโทษแบบป่าเถื่อนทารุณต่าง ๆ ได้ถูกยกเลิกไปโดยสิ้นเชิง
การทหาร
เริ่มการฝึกทหารตามแบบยุโรปเพื่อใช้ป้องกันราชอาณาจักร ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นการฝึกทหารเกณฑ์ แบบยุโรปเพื่อใช้เป็นทหารรักษาพระองค์เท่านั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดฯ ให้ปรับปรุงกองทัพดังนี้

1. ปรับปรุงหน่วยทหารในกองทัพใหม่ จัดแบ่งออกเป็น กรม กอง เหล่า หมวด หมู่ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมจัดอัตราเงินเดือนให้สอดคล้องกันและปรับปรุงอาวุธยุทธภัณฑ์ วิธีการฝึกตลอดจนเครื่องแบบให้ทันสมัยกำเนิดสถาบันกองทัพ

2. ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก ตั้งกรมเสนาธิการทหารบก ตั้งโรงเรียนแผนที่ ตั้งโรงเรียนนายเรือ

3. ส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาการทหารในทวีปยุโรป อาทิ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครชัยศรีสุรเดช จบจากอังกฤษ เป็นเสนาธิการ ทหารบกคนแรกของไทย พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จบจากอังกฤษ เป็นนักเรียน นายเรือพระองค์แรก ของไทยและเป็นพระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย

4. ตราพระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหาร ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ 29 สิงหาคม 24485. สร้างเรือรบ อาทิ เรือพระที่นั่งจักรี เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง

5. สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย เพื่อป้องกันข้าศึกทางทะเล

การตำรวจ ขยายกิจการตำรวจนครบาล ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร ตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้น เพื่อปราบปรามโจรผู้ร้ายและดูแลทุกข์สุข ของราษฎรในส่วนภูมิภาค ตั้งกรมตำรวจภูบาลขึ้น เพื่อช่วยเหลือตำรวจภูธร ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ขึ้น ณ จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาย้ายมาตั้งอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จังหวัดนครปฐม

การเลิกทาส เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า สมเด็จพระปิยะมหาราช สมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น ประเทศไทยมีทาสป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง ของประเทศ เพราะเหตุว่าลูกทาสในเรือนเบี้ยได้มีสืบต่อกันเรื่อยมาไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นทาสกันตลอดชีวิต พ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไป
กฏหมายที่ใช้กันอยู่ในเวลานั้น ตีราคาลูกทาสในเรือนเบี้ย ชาย 14 ตำลึง หญิง 12 ตำลึง แล้วไม่มีการลด ต้องเป็นทาสไปจนกระทั่ง ชายอายุ 40 หญิงอายุ 30 จึงมีการลดบ้าง คำนวณการลดนี้ อายุทาสถึง 100 ปี ก็ยังมีค่าตัวอยู่ คือชาย 1 ตำลึง หญิง 3 บาท แปลว่า ผู้ที่เกิดในเรือนเบี้ย ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ก็ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต


ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้ตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่21สิงหาคม 2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่ พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ จึงมีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี โดยกำหนดว่า เมื่อแรกเกิด ชายมีค่าตัว 8 ตำลึง หญิงมีค่าตัว 7 ตำลึง เมื่อลดค่าตัวไปทุกปีแล้ว พอครบอายุ 21 ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง
พอถึงปีพ.ศ.2448ก็ได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า “พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124” (พ.ศ. 2448) เลิกเรื่องลูกทาส ในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไป การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด

สมัยที่ รัชกาลที่5 เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น ประเทศไทยมี ทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง ของประเทศ เพราะเหตุว่าลูกทาสในเรือนเบี้ยได้มีสืบต่อกันเรื่อยมาไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นทาสกันตลอดชีวิต พ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไป

ในปี พุทธศักราช ๒๔๑๗ โปรดให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุของลูกทาสตลอดรัชกาลได้ทรงพระราชกาลได้ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสหลายฉบับ ออกบังคับใช้ในมณฑลต่างๆ ให้ลูกทาสเป็นไท ประกาศประมวลกฎหมายลักษณะอาญากำหนดบทลงโทษแก่ผู้ซื้อขายทาสให้มีความผิดเช่นเดียวกับโจรปล้นทรัพย์ ทรงกระทำเป็นแบบอย่างแก่บรรดาเจ้านายและขุนนางในการบำเพ็ญกุศลด้วยการบริจาคพระราชทัรพย์ไถ่ถอนทาส

พร้อมพระราชทานที่ทำกินเป็นผลให้ระบบทาสที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาหลายร้อยปี ก็ได้ถูกยกเลิกไปจนหมดสิ้น ด้วยพระราชหฤทัยแน่วแน่และทรงพระราชอุตสาหะ เป็นเวลาถึง ๓๐ ปีก็ทรง ก็ทรงเลิกทาสสำเร็จในพุทธศักราช ๒๔๔๘ สมตามพระราชปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้พระราชกรณียกิจสำคัญนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของพลเมืองจากทาสมาเป็นสามัญชน

มีอิสรภาพทางสังคมเท่าเทียมกันโดยกำหนดเอาไว้ว่าลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๔๑๑ อันเป็นปีแรกที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ก็ให้ใช้อัตราค่าตัวเสียใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้ พออายุครบ ๘ ปี ก็ให้ตีค่าออกมาให้เต็มตัว จนกว่าจะครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ให้กลับเป็นไทแก่ตัว เมื่อก้าวพันเป็นอิสระแล้วห้ามกลับมาเป็นทาสอีก ทรงพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้คนขายตัวเป็นทาส จึงประกาศยกเลิกบ่อนเบี้ย และขยายระบบการศึกษาให้เป็นที่แพร่หลายยิ่งขึ้นในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น ประเทศไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง ของประเทศเพราะเหตุว่าลูกทาสในเรือนเบี้ยนั้นได้มีสืบต่อกันเรื่อยมาไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นทาสกันตลอดชีวิต พ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไปกฎหมายที่ใช้กันอยู่ในเวลานั้นตีราคาลูกทาสในเรือนเบี้ย ชาย 14 ตำลึง หญิง 12 ตำลึงแล้วไม่มีการลดต้องเป็นทาสไปจนกระทั่ง ชายอายุ 40 หญิงอายุ 30 จึงมีการลดบ้าง คำนวณการลดนี้อายุทาสถึง 100 ปี ก็ยังมีค่าตัวอยู่ คือชาย 1 ตำลึง หญิง 3 บาท แปลว่า ผู้ที่เกิดในเรือนเบี้ย ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ก็ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯได้ตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่ พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติจึงมีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี โดยกำหนดว่า เมื่อแรกเกิดชายมีค่าตัว 8 ตำลึง หญิงมีค่าตัว 7 ตำลึงเมื่อลดค่าตัวไปทุกปีแล้ว พอครบอายุ 21 ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิงประเทศไทยนั้นมีการใช้ทาสมาเป็นเวลานานเพื่อใช้ทำกิจการต่างๆ ในบ้านเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่สูงศักดิ์ พระองค์ทรงใช้ความวิริยะอุตสาหะที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้หมดไป ด้วยทรงพระราชดำริกับเสนาบดีและข้าราชการเกี่ยวกับเรื่องทาส พระองค์ทรงคิดหาวิธีจะปลดปล่อยทาสให้ได้รับความเป็นไท ด้วยวิธีการละมุนละม่อม ทำตามลำดับขั้นตอน
พอถึงปี 2448 ก็ได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้นเรียกว่า ?พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124? (พ.ศ.2448) เลิกเรื่องลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไปการซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญาส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้วให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมดและนี่ก็เป็นพระมหากรุณาทิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน รัชกาลที่๕ที่ทรงให้มีการเลิกทาสนับตั้งแต่นั้นมา
ภายหลังประกาศเลิกทาสจนเป็นอิสระภาพคและนี่ก็เป็นเกร็ดสาระน่ารู้เล็กๆน้อยๆที่รัตติกาลแห่งราตรี ได้รวบรวมหามานำเสนอให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องของทาสไทยกับการเลิกทาสขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕ของปวงชนชาวไทยอิสระที่รอการปลดปล่อยของพระองค์ท่าน ในปี พุทธศักราช ๒๔๑๗ โปรดให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุของลูกทาสตลอดรัชกาลได้ทรงพระราชกาลได้ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสหลายฉบับ ออกบังคับใช้ในมณฑลต่างๆ ให้ลูกทาสเป็นไท ประกาศประมวลกฎหมายลักษณะอาญากำหนดบทลงโทษแก่ผู้ซื้อขายทาสให้มีความผิดเช่นเดียวกับโจรปล้นทรัพย์
ทรงกระทำเป็นแบบอย่างแก่บรรดาเจ้านายและขุนนางในการบำเพ็ญกุศลด้วยการบริจาคพระราชทัรพย์ไถ่ถอนทาสทาสที่กระทำความผิดถูกลงโทษพร้อมพระราชทานที่ทำกินเป็นผลให้ระบบทาสที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาหลายร้อยปี ก็ได้ถูกยกเลิกไปจนหมดสิ้น ด้วยพระราชหฤทัยแน่วแน่และทรงพระราชอุตสาหะ เป็นเวลาถึง ๓๐ ปีก็ทรง ก็ทรงเลิกทาสสำเร็จในพุทธศักราช ๒๔๔๘ สมตามพระราชปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้พระราชกรณียกิจสำคัญนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของพลเมือง
จากทาสมาเป็นสามัญชน มีอิสรภาพทางสังคมเท่าเทียมกันโดยกำหนดเอาไว้ว่าลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๔๑๑ อันเป็นปีแรกที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ก็ให้ใช้อัตราค่าตัวเสียใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้ พออายุครบ ๘ ปี ก็ให้ตีค่าออกมาให้เต็มตัว จนกว่าจะครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ให้กลับเป็นไทแก่ตัว เมื่อก้าวพันเป็นอิสระแล้วห้ามกลับมาเป็นทาสอีก ทรงพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้คนขายตัวเป็นทาส จึงประกาศยกเลิกบ่อนเบี้ย และขยายระบบการศึกษาให้เป็นที่แพร่หลายยิ่งขึ้นในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น ประเทศไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง ของประเทศ
เพราะเหตุว่าลูกทาสในเรือนเบี้ยนั้นได้มีสืบต่อกันเรื่อยมาไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นทาสกันตลอดชีวิต พ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไปกฎหมายที่ใช้กันอยู่ในเวลานั้นตีราคาลูกทาสในเรือนเบี้ย ชาย 14 ตำลึง หญิง 12 ตำลึงแล้วไม่มีการลดต้องเป็นทาสไปจนกระทั่ง ชายอายุ 40 หญิงอายุ 30 จึงมีการลดบ้าง คำนวณการลดนี้อายุทาสถึง 100 ปี ก็ยังมีค่าตัวอยู่ คือชาย 1 ตำลึง หญิง 3 บาท แปลว่า ผู้ที่เกิดในเรือนเบี้ย ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ก็ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิตในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯได้ตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่ พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติจึงมีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี



โดยกำหนดว่า เมื่อแรกเกิดชายมีค่าตัว 8 ตำลึง หญิงมีค่าตัว 7 ตำลึงเมื่อลดค่าตัวไปทุกปีแล้ว พอครบอายุ 21 ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิงข้าทาสและไพร่ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งหลุดพ้นจากระบบดั้งเดิมได้กลายเป็นราษฎรสยามและต่างมีโอกาสประกอบ อาชีพหลากหลายพอถึงปี 2448 ก็ได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้นเรียกว่า ?พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124? (พ.ศ.2448) เลิกเรื่องลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไปการซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญาส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้วให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมดและนี่ก็เป็นพระมหากรุณาทิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน รัชกาลที่๕ที่ทรงให้มีการเลิกทาสนับตั้งแต่นั้นมาภายหลังประกาศเลิกทาสจนเป็นอิสระภาพและนี่ก็เป็นเกร็ดสาระน่ารู้เล็กๆน้อยๆที่รัตติกาลแห่งราตรี ได้รวบรวมหามานำเสนอให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องของทาสไทยกับการเลิกทาสขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕ของปวงชนชาว

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น