วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย


ประวัติการ กบฏ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย ยกบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร’ โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า ‘ปฏิวัติ’ แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า ‘กบฏ’

จาก พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2534 มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ทั้งที่เป็น การปฏิวัติ และเป็น กบฏ มีดังนี้

พ.ศ. เหตุการณ์ หัวหน้าก่อการ รัฐบาล

2475 ปฏิวัติ 24 มิถุนายน พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ

2476 รัฐประหาร พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

2476 กบฎบวรเดช พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

2478 กบฎนายสิบ ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

2481 กบฎพระยาสุรเดช พ.อ.พระยาสุรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

2490 รัฐประหาร พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

2491 กบฎแบ่งแยกดินแดน ส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง นายควง อภัยวงศ์

2491 รัฐประหาร คณะนายทหารบก นายควง อภัยวงศ์

2491 กบฏเสนาธิการ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต จอมพล ป. พิบูลสงคราม

2492 กบฎวังหลวง นายปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

2494 กบฎแมนฮัตตัน น.อ.อานน บุณฑริกธาดา จอมพล ป. พิบูลสงคราม

2494 รัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม

2497 กบฎสันติภาพ นายกุหราบ สายประสิทธิ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

2500 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

2501 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร

2514 รัฐประหาร จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ถนอม กิตติขจร


2516 ปฏิวัติ 14 ตุลาคม ประชาชน จอมพล ถนอม กิตติขจร


2519 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช


2520 กบฎ 26 มีนาคม พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร


2520 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร


2524 กบฎ 1 เมษายน พล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์


2528 การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน พ.อ.มนูญ รูปขจร * พล.อ.เปรม ติณสูลานนท


2534 รัฐประหาร พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ* คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ รูปขจร


ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย (2475 – 2534)

การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475

” คณะราษฎร ” ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน 99 นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น

รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476





พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเองในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ

กบฏบวชเดช 11 ตุลาคม 2476



พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ



กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478

ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา

กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481



ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน

รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490



คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย



กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491

จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง



รัฐประหาร 6 เมษายน 2491

คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป

กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491

พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ

กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492

นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง

กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494

นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ

รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง

กบฏสันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497

นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี

รัฐประหาร 16 กันยายน 2500

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ

รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501

เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง

รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514

จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี

ปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516

การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ

ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519

พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520

พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว

กบฎ 26 มีนาคม 2520

พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520

กบฎ 1 เมษายน 2524

พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้

การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528

พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534

โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี

การปฎิวัติยึดอำนาจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

18.30 น. มีข่าวลือสะพัด กำลังทหารเตรียมเคลื่อนกำลังพล โดยมีรายงานว่าหน่วยรบพิเศษจากลพบุรีราว 1กองพันเคลื่อนกำลังด่วนเข้ากรุงแล้ว

19.00 น. ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ยืนยัน ไม่มีการเคลื่อนไหวกำลังพล

19.30 น. แม่ทัพภาค 3 ยืนยัน ไม่มีการเคลื่อนกำลัง ยังฝึกปกติ

20.00 น. นายทหารคนสนิทประธานองคมนตรี ยืนยัน มีการเข้าเฝ้า เมื่อช่วงเย็น เรื่องทำบุญ หม่อมหลวงบัว21.00 น. ทหารรบพิเศษ สองคันรถบัสเคลื่อนพลเข้ากองบัญชาการกองทัพบก สั่งปิดไฟสลก

21.20 น. มีทหารเฝ้าประตูวังสุโขทัย มากกว่า

2021.20 น.นายกฯสั่งช่อง 11 เตรียมการถ่ายทอดสดทางโทรศัพท์ จากนิวยอร์ค

21.35 น. เลขาธิการนายกฯเข้าทำเนียบ

21.40 น. รถถ่ายทอดททบ.5เคลื่อนเข้าไปในกองบัญชาการกองทัพบก

22.40 น. นายกฯสั่งช่อง 9 เตรียมถ่ายทอดสดจากนิวยอร์ค

21.45 น. เลขาฯนายก หอบเอกสารปึกใหญ่ นั่งรถ รองนายกฯชิดชัยออกจากทำเนียบรัฐบาล

22.00 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาลสั่งปิดประตู พร้อมวางกำลังเจ้าหน้าที่อาวุธครบมือประจำการประมาณ

22.10 น. ทหารเตรียมเคลื่อนกำลังออกจากม.พัน 422.13 น. ยานหุ้มเกราะ 20 คันเคลื่อนจากเกียกกายสู่ลานพระรูป ขณะที่รถถัง 3-4 คันเคลื่อนไปทำเนียบ

22.14 น. ทหารเคลื่อนพลปิดล้อมทำเนียบ รัฐบาลแล้ว

22.14 น. รถถัง 3 คันประจำการแยกเกียกกาย บ้านสี่เสาเทเวศน์ รถถังสองคันพร้อมรถบรรทุกกำลังพล 5คันเคลื่อนออกจากกองพันทหารปืนใหญ่

22.20 น. วิทยุและโทรทัศน์ทหารเปิดเพลงมาร์ชกระหึ่ม ทหารยึดอสมท

22.24 น. ทหารเคลื่อนกำลังพลปิดบ้านนายกฯ ขณะที่นายกฯประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินต้านทันควัน พร้อมสั่งย้ายผบ.ทบ.เข้ารายงานตัวกับชิดชัย ตั้งผบ.สส.เป็นผู้มีอำนาจสั่งการตามพรก

22.26 น. ทหารสั่งตัดไฟสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ขณะนายกฯกำลังประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน

22.40 น. มีการตัดสัญญาณ ฟรีทีวีทุกช่อง

22.41 น. Cnn รายงานสถานีวิทยุและโทรทัศน์ไทย ถูกปิดหมดแล้ว และมีรายงานการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน22.44 น. ทหารสั่งกักบริเวณ ผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล

22.55 น. ทหารปล่อยให้สื่อมวลชนกลับบ้านแล้ว

23.00 น. ทหารควบคุมตัวพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้ว23.05 น. มีประกาศจากคณะปฏิรูปการเมืองซึ่งประกอบด้วยสี่เหล่าทัพขอความร่วมมือจาก ประชาชนหลังควบคุมสถานการณ์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลไว้ได้โดยไม่มีการต่อต้าน

23.10 น.เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารสั่งสถานีวิทยุ ในเครือกองทัพ(101)เตรียมรับสัญญาณถ่ายทอดสดจากสถานีวิทยุ 99.5

23.15 น. ทหารสั่งปลดอาวุธเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัยทำเนียบรัฐบาลและกักบริเวณไว้หน้าตึกไทยคู่ฟ้า

23.27 น. พลตรี ประพาส สกุนตนารถ ที่ปรึกษาททบ.5 ออกแถลงการณ์ประกาศคณะปฏิรูปอย่างเป็นทางการ

23.30 น. มีข้อความแพร่ไปทาง มือถืออ้างพลเอกเปรมปฏิวัติแต่ในหลวงไม่เอาด้วย

23.31 น. ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศเป็นศัตรูกับรัฐบาลที่ทำการยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจาก การเลือกตั้ง23.40 น. มีการสั่งปลดอาวุธ ตำรวจหน่วยอรินทราชและคอมมานโดทั้งหมด

23.50 น. มีประกาศจากคณะปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2แจงก่อเหตุเพราะมีการบริหารราชการแผ่นดินส่อไปในทางทุจริตอย่างกว้างขวาง องค์กรอิสระถูกครอบงำไม่เป็นไปตามเจตนารมย์รัฐธรรมนูญ การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมีอุปสรรคหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์อยู่หลายครั้งคณะปฏิรูปไม่ประสงค์จะยึดอำนาจเพื่อบริหารเอง แต่จะคืนอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขให้ปวงชนชาวไทยโดยเร็วที่สุด

23.55 น. มีการตัดสัญญาณ โทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก ( ยูบีซี ) ช่อง 53 ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น

23.59 น. ผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหนักจิ ครลดารโหฐานพระราชวังดุสิต

00.24 น. มีรายงานการปะทะกันที่บริเวณกองพันทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์บางเขน

00.28 น. พลตรี ประพาส สกุนตนารถ ที่ปรึกษาททบ.5อ่านแถลงการประกาศกฎอัยการศึกบังคบใช้ทั่วประเทศตั้งแต่21.05น.ของวันที่ 19 กันยายน 49 โดยมีพลเอก สนธิบุญรัตนกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ00.30 น. มีประกาศคณะปฎิรูป การปกครองฯฉบับที่2สั่งห้ามเคลื่อนย้ายกำลังทหารโดยไม่ได้รับคำสั่งจากคณะปฏิรูป
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นการก่อรัฐประหารในประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ โดยโค่นล้มรักษาการนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนับเป็นการก่อรัฐประหารเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนต่อมา หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐประหารได้ยกเลิกการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม ยกเลิกรัฐธรรมนูญ สั่งยุบสภา สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งและเซ็นเซอร์สื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก และจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคน

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ได้แถลงเมื่อวันที่ 21 กันยายน ถึงสาเหตุในการยึดอำนาจและให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูรัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยภายในหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกาศว่า หลังจากการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยแล้ว คณะปฏิรูปการปกครองจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีการอธิบายถึงบทบาทที่มีต่อการเมืองไทยในอนาคต

1.ภายหลังรัฐประหาร คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึก ใน 41 จังหวัด แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด

2.รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาตอบรับจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย

3.การแสดงความความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่า การก่อรัฐประหารนั้น "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้"

ชนวนเหตุ

พลเอก สนธิ บุญรัตกลิน เปิดเผยว่าได้ใช้เวลาประมาณ 7 เดือนในการเตรียมการก่อรัฐประหาร ซึ่งหมายความว่าเริ่มวางแผนในราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นห้วงเวลาเดียวกับที่มีการเปิดตัวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเดิมทีแล้ว พลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเคยรับประกันว่าจะไม่มีการยึดอำนาจของฝ่ายทหาร เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549



ในเดือนกรกฎาคม แม่ทัพภาคที่ 3 พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร ได้ให้สัมภาษณ์ว่าการเมืองไทยอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน และความเป็นผู้นำที่อ่อนแอ เขายังกล่าวอีกว่าประเทศไทยมีระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ถูกต้อง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม นักเคลื่อนไหวประชาธิปไตย ทวีวุฒิ จุลวัจนะ ได้โพสต์จดหมายเปิดผนึกบนเว็บบอร์ดการเมืองที่เป็นที่นิยมที่สุดในประเทศไทย โดยอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลทางทหาร กล่าวว่า กองทัพและสนธิ ลิ้มทองกุลกำลังสมคบคิดในการวางแผนล้มล้างรัฐบาลทักษิณ และคืนอำนาจให้กับประชาชน หลังจากการปฏิรูปประเทศแล้วเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม นายทหารกองทัพบกระดับกลางกว่าร้อยนาย ซึ่งถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนของ พ.ต.ท. ทักษิณ ถูกบรรจุใหม่โดยกองบัญชาการทหารสูงสุด ทำให้มีข่าวลือว่ากองทัพแบ่งแยกออกเป็นฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายที่ต่อต้านนายกรัฐมนตรี



ต่อมา ในเดือนสิงหาคม มีรายงานเคลื่อนไหวของรถถังใกล้กับกรุงเทพมหานคร แต่ฝ่ายทหารกล่าวว่าเป็นการฝึกซ้อมตามกำหนดการเมื่อต้นเดือนกันยายน ตำรวจไทยได้จับกุมนายทหารกองทัพบกจำนวน 5 นาย ซึ่งมีตำแหน่งในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน หลังจากที่สามารถตรวจพบว่าหนึ่งในคณะนายทหารมีระเบิดซุกซ่อนอยู่ในรถ ซึ่งมีเป้าหมายมุ่งหน้าไปยังที่พักของนายกรัฐมนตรีตามข้อกล่าวหา ซึ่งสามในห้าของผู้ที่ถูกจับกุมถูกปล่อยตัวหลังจากการก่อรัฐประหาร
พฤศจิกายน 2549 สองเดือนหลังจากรัฐประหาร คมช. ได้ออก "สมุดปกขาว"ชี้แจงสาเหตุของการก่อรัฐประหารยึดอำนาจโดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ การทุจริตผลประโยชน์ทับซ้อน การใช้อำนาจในทางมิชอบ การละเมิดจริยธรรมคุณธรรมของผู้นำประเทศ การแทรกแซงระบบการตรวจสอบทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ข้อผิดพลาดเชิงนโยบายที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพและการบ่อนทำลายความสามัคคีของคนในชาติ

อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์จากหลายฝ่ายชี้ให้เห็นว่ายังมีสาเหตุอีกบางประการนอกเหนือจากเหตุผลของ คมช. ที่นำมาสู่รัฐประหาร เช่น ความขัดแย้งทางอำนาจที่เห็นได้จากการโยกย้ายนายทหารประจำปี รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับประธานองคมนตรี

การกะเวลาก่อนรัฐประหาร

ในภายหลัง พลเอกสนธิ ได้ให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า การก่อรัฐประหารเดิมถูกวางแผนให้ดำเนินการเมื่อวันที่ 20 กันยายน เพื่อให้ตรงกับการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้า เขาได้กล่าวอ้างถึง "ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในโปรตุเกส" ซึ่งได้มีการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาล พร้อมกับการก่อการปฏิวัติโดยกองทัพ ซึ่งโค้นล่มพระเจ้ามานูเอลที่ 2 แห่งโปรตุเกส และจัดตั้งสาธารณรัฐโปรตุเกสที่หนึ่ง การก่อรัฐประหารถูกเลื่อนขึ้นมาเป็นวันที่ 19 กันยายน ขณะที่รักษาการนายกรัฐมนตรียังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ในนิวยอร์ก พลเอกสนธิยังได้กล่าวอีกว่า ครั้งหนึ่งที่ พ.ต.ท. ทักษิณกำลังรับประทานอาหารกลางวันกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด เขาได้ถามพลเอกสนธิว่า "คุณจะปฏิวัติผมหรือเปล่า" ซึ่งพลเอกสนธิก็ตอบว่า "ใช่" ซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกับแถลงการณ์ต่อสาธารณะซึ่งเขาปฏิเสธว่ากองทัพจะก่อการรัฐประหาร
เดอะ เนชั่น ยังได้มีข้อสังเกตถึงการกะเวลาของการก่อรัฐประหาร โดยมีหลายกรณีที่เดียวข้องกับเลข 9 ซึ่งเป็นเลขมงคลอย่างยิ่งตามความเชื่อ การก่อรัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 เดือน 9 ปีพุทธศักราช 2549 หัวหน้าคณะรัฐประหาร พลเอก สนธิ บุญยรัตกลินได้ประกาศต่อสาธารณชนหลังจากการก่อรัฐประหารเมื่อเวลา 9.39 น.ปฏิกิริยาของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายคณะรัฐประหาร
ฝ่ายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เวลา 22.15 น. วันที่ 19 กันยายน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ออกแถลงการณ์สถานการณ์ฉุกเฉินในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านดาวเทียม จากประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี แต่เมื่ออ่านแถลงการณ์ได้ 3 ฉบับ ก็มีกำลังทหารพร้อมอาวุธกลุ่มหนึ่งบุกเข้าไปยังสถานีฯ พร้อมออกคำสั่งให้หยุดการแพร่ภาพโดยทันที เป็นผลให้เจ้าหน้าที่สถานีฯ ต้องตัดสัญญาณการแถลงข่าวลงทันที

จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ปรับกำหนดการที่จะขึ้นแถลงต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ แต่แล้วก็ยกเลิกการขึ้นแถลง จากนั้นจึงขึ้นเครื่องบินเที่ยวพิเศษ เดินทางออกจากนิวยอร์ก ไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 20 กันยายน ตามเวลาในประเทศไทย

มีข่าวว่าอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังเดินทางไปสมทบกันที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อหารือในการตั้งครม.พลัดถิ่น โดยจะขอให้สหประชาชาติให้การรับรอง

ในที่ประชุมแกนนำ คปค. เมื่อวันที่ 23 กันยายน ในที่ประชุมได้กล่าวถึงการติดต่อจาก พ.ต.ท.ทักษิณ จากประเทศอังกฤษ เข้ามายังคณะปฏิรูปการปกครองฯ ด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณได้ให้การยืนยันทางโทรศัพท์กับพลเอกสนธิ โดยระบุว่าพร้อมจะยุติการเคลื่อนไหวทางการเมืองในทุกกรณี และได้แจ้งให้รัฐมนตรีและสมาชิกพรรคไทยรักไทยทุกคนรับทราบ พร้อมจะปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองฯ ทุกประการ และจะพักผ่อนกับครอบครัวในต่างประเทศ จนกว่าจะมีการตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ จึงจะเดินทางกลับประเทศไทย
ฝ่ายคณะรัฐประหาร

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กล่าวชี้แจงต่อคณะทูตานุทูตจำนวน 43 ประเทศ ที่หอประชุมกิตติขจร ถึงการประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า การประกาศยึดอำนาจเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการปกครองประเทศ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และได้รับความร่วมมือจากประชาชน และสังคมเป็นอย่างดี โดยคาดว่าจากนี้ไปอีก 2 สัปดาห์จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ และสรรหานายกรัฐมนตรีขึ้นมารักษาการแทน และจัดตั้งสภานิติบัญญัติ เพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

พล.อ.สนธิ กล่าวว่า จะยึดมั่นในหลักกฎบัตรสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ เพื่อผลประโยชน์ของชาติ พร้อมทั้งรักษาไว้ซึ่งสิทธิและจะปฏิบัติตามพันธกรณีในสนธิสัญญาหรือข้อตกลงที่ทำไว้กับนานาประเทศ ภายใต้หลักเกณฑ์แห่งความเสมอภาคโดยเคร่งครัด และจะส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ สำหรับชาวต่างประเทศ คณะทูตานุทูต กงสุล สถานเอกอัครราชทูต และองค์การระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยจะได้รับการคุ้มครอง

จากนั้น พล.อ.สนธิ เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนทั้งไทย และต่างประเทศ ซักถาม โดยยืนยันว่าจะปฏิบัติหน้าที่ไม่เกิน 2 สัปดาห์ และใช้เวลาไม่เกิน 1 ปีในการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในราวต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 และกำลังอยู่ระหว่างการสรรหาผู้ที่เหมาะสมจะมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรักษาการ ซึ่งจะมาจากคนกลางที่รักประชาธิปไตย และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

สำหรับการดำเนินการกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น จะเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ตามที่ก่อนหน้านี้มีผู้ฟ้องร้องดำเนินคดีไว้ แต่ไม่มีแนวคิดที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินเหมือนที่เกิดขึ้นในยุค รสช. และยังไม่มีแนวคิดยึดหุ้นชินคอร์ป (SHIN) คืนจากกลุ่มเทมาเส็ก และจะประกาศยกเลิกคณะปฏิรูปการปกครองฯ ทันทีเมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ[

สำหรับพลเรือนที่มีข่าวว่าได้รับการทาบทามให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล ได้แก่ นายอักขราทร จุฬารัตน, นายศุภชัย พานิชภักดิ์, หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล, นายสุเมธ ตันติเวชกุล, พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์, นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์, นายเกริกไกร จีระแพทย์, นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ, พลเอกปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์

ทันทีภายหลังการรัฐประหาร คณะรัฐประหารได้แต่งตั้ง โยกย้าย และถอดถอนบุคคลจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งใน กองบัญชาการคณะปฏิรูปการปกครอง คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมถึงข้าราชการและทหารตำรวจระดับสูงที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลทักษิณและมีการเรียกให้อดีตรัฐมนตรีของรัฐบาลทักษิณเข้ารายงานตัว สำหรับรายชื่อบุคคลทั้งหมด ดูได้ที่ รายชื่อบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งถอดถอนหรือควบคุมโดยคปค.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น