วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติกรุงธนบุรี

ประวัติกรุงธนบุรี

ประวัติกรุงธนบุรี







กรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งที่สามของไทย ระหว่าง พ.ศ.2310 - 2325 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมืองนี้มีชื่อว่า ธนบุรีศรีมหาสมุทร แต่ชาวตะวันตกมักเรียกกันว่า บางกอก ซึ่งอาจมาจาก บางเกาะ ด้วยสภาพพื้นที่เป็นรูปโค้งคล้ายเกือกม้ามองดูเหมือนเกาะ ปี พ.ศ. 1976 ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ธนบุรีมีฐานะเป็นเมืองท่านนอนสำหรับเก็บภาษีอากร ผู้ปกครองเขตนี้เรียกชื่อว่า “นายพระขนอนทณบุรี” ปี พ.ศ. 2065 ในรัชกาลของพระชัยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้โปรดให้ขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างปากคลองบางกอกน้อย และแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม





บริเวณหน้าวัดอรุณราชวราราม คลองลัดนี้กว้างขึ้นจนเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ เกิดความสะดวกแก่เรือสินค้าที่จะล่องไปอยุธยา ทำให้ความสำคัญของธนบุรีทวีขึ้นถึง พ.ศ.2100 ในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงสามารถกู้อิสรภาพคืนมาได้ภายในเวลา 6 - 7 เดือน





เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาเสียหายเกินกว่าจะบูรณะให้กลับดีดังเดิมได้ ประกอบกับกำลังทัพของพระองค์มีไม่พอเพียงที่จะรักษาพระนครได้อีกต่อไป จึงอพยพผู้คนมาสร้างราชธานีใหม่ขึ้นที่ธนบุรี ศูนย์กลางของกรุงธนบุรีแต่เดิมนั้นเป็นชุมชนเก่าตั้งอยู่แถบพระราชวังเดิม (กองทัพเรือในปัจจุบัน) ที่นี่มีป้อมสำคัญ ชื่อ ป้อมชื่อวิชัยประสิทธิ์ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้สร้างขึ้นที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2208 ป้อมที่สร้างขึ้นโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส





แต่เมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์ พระเพทราชา พระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ต่อมาโปรดให้จับกุมทหารชาวฝรั่งเศสและรื้อป้อมนั้นลงเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดให้สร้างพระราชวังของพระองค์ขึ้นในที่ซึ่งเคยเป็นป้อมวิชัยประสิทธิ์ ตลอดระยะเวลา 14 ปี ของรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี พระองค์ได้ทรงฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ รวบรวมแผ่นดินและผู้คนให้เป็นปึกแผ่น ราชธานีจึงรุ่งเรือง มั่งคั่ง และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร กรุงธนบุรีจึงเป็นศูนย์อำนาจทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองสามารถที่จะแทนที่กรุงศรีอยุธยาได้อย่างสมบูรณ์ หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งราชวงศ์จักรี โปรดให้ย้ายราชธานีไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและตั้งกรุงเทพมหานคร ขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ นับแต่นั้นมาธนบุรีจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แม้ว่ากรุงธนบุรีจะเป็นราชธานีอยู่เพียง 15 ปี ดินแดนแห่งนี้เป็นแหล่งชุมชนเก่าแก่มานาน ทั้งยังมีความสำคัญทางด้านเศรษฐศาสตร์มาก่อนเนื่องจากเคยเป็นเมืองหน้าด้านสำหรับเก็บภาษี เมืองนี้มีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนั้นธนบุรียังเป็นแหล่งรวมของผู้คนหลายหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม อาทิเช่น ชาวจีน มอญ อินเดีย ญี่ปุ่น และชาวฮอลันดา ซึ่งเข้ามาทำการค้าตั้งแต่สมัยอยุธยาหลักฐานที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ คลังสินค้าของฮอลันดาซึ่งตั้งอยู่ในเขตบางปะกอก ซึ่งเรียกว่านิวอัมสเตอร์ดัม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น