วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติกรุงรัตนโกสินทร์

ประวัติกรุงรัตนโกสินทร์

ประวัติกรุงรัตนโกสินทร์
ประวัติกรุงรัตนโกสินทร์

กรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๐๙ - กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๕๔๙สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์นักรบอีกพระองค์หนึ่งของชาติไทย ที่มีอัจฉริยะภาพทางการทหารอย่างหาผู้ใดเทียมมิได้ สิบห้าปีตลอดรัชกาลทรงตรากตรำทำศึกไม่เว้นแต่ละปี หัวเมืองใหญ่น้อยและอาณาจักรใกล้เคียงต่างครั่นคร้ามในพระบรมเดชานุภาพ กองทหารม้าอันเกรียงไกรของพระองค์นั้น เป็นต้นแบบในการรุกรบยุคต่อมา เป็นตัวอย่างอันดีของทหารในยุคปัจจุบันคือ ทหารต้องรู้จักคิด รู้จักพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพด้วยตนเอง ต้องเอาบ้านเมืองเป็นหลักเป็นที่ตั้ง ต่อให้มียศเป็นพระยานาหมื่นหากไม่มีบ้านเมืองเป็นหลักชัยแล้ว ยศศักดิ์นั้นไหนเลยจะมีค่า การศึกในหลายๆครั้งกับพม่านั้น พระองค์ก็อยู่ในสภาวะที่มิต่างอะไรจากสมเด็จพระนเรศวรฯ คือมีกำลังน้อยกว่าแทบจะทุกครั้ง แต่พระองค์ก็สามารถเอาชัยได้จากพระวิริยะอุตสาหะ และพระปรีชาสามารถทางการทหาร ทรงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ล้าหลัง ที่ศัตรูรู้ ที่ใครๆก็รู้ ทรงกล้าที่จะปฎิวัติความเชื่อใหม่ๆที่ทหารควรจะใช้เพื่อให้เหมาะกับสถานณการณ์ที่คับขัน การคุมพลยกแหกวงล้อมพม่าจากค่ายวัดพิชัยนั้น ถือได้ว่าเป็นทหารหนีทัพที่คิดกบฎเป็นทุรยศต่อแผ่นดิน แต่พระองค์ก็มิได้ลังเลที่จะทรงกระทำเพื่อบ้านเมืองในวันข้างหน้า หากพระองค์ไม่คิดเอาบ้านเมืองเป็นหลักชัยแล้ว ไหนเลยจะย้อนกลับมาเพื่อกู้กรุงในอีกแปดเดือนถัดมา ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ยศศักดิ์ต่างๆที่พระองค์มีในตำแหน่งพระยาวชิรปราการ ผู้รั้งเมืองกำแพงเพชรนั้น หาได้มีความสำคัญต่อพระองค์ไม่แม้แต่น้อย ทรงรู้ดีว่า เมื่อสิ้นชาติ ยศศักดิ์ใดๆก็ไม่มีความหมาย และในพระนครนั้นก็ไม่มีขุนทหารผู้ใหญ่คนใดที่จะมีน้ำใจและกล้าหาญที่พอจะรักษาชาติไว้ได้ พระองค์จึงกระทำการอันที่ยากที่ทหารคนใดผู้ใดจะกล้าทำ*



**ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกนั้น หัวเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายที่อยู่ในอำนาจของอยุธยานั้น ต่างมิได้ทำการช่วยอยุธยารบพม่าแต่อย่างใด ต่างคนต่างตั้งตัวเป็นอิสระ นิ่งเฉยดูดายต่อชะตากรรมของพระนคร มีเพียงชาวบ้านบางระจันเท่านั้น ที่ช่วยอยุธยาต่อสู้กับพม่าในเส้นทางเดินทัพของเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าทัพที่สอง

ทัพที่หนึ่งของพม่านั้นมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ทำหน้าทียกไปล้อมอยุธยาทางทิศใต้ของพระนคร ตลอดหัวเมืองรายทางของทั้งสองทัพของพม่านั้น ต่างอ่อนน้อมต่อพม่าไม่ทำการต่อสู้ ขณะนั้นกษัตริย์พม่าคือ พระเจ้ามังระ ซึ่งเพิ่งขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ เห็นอยุธยาอ่อนแอและมั่งคั่งยิ่งนัก จึงคิดจะปราบอยุธยาเพื่อให้อาณาจักรอื่นกลัวเกรงในอำนาจ จึงให้สองแม่ทัพยกพลไปตีอยุธยา เหตุที่พระเจ้ามังระทรงไม่คุมทัพมาเองเพราะรู้ดีว่าอยุธยาอ่อนแอและแตกแยก ทรงรู้ได้จากข่าวสารของไส้ศึกที่ส่งเข้าไปบ่อนทำลายและแทรกซึมในทุกวงการทุกชนชั้นของอยุธยา จึงให้เพียงแม่ทัพผู้ใหญ่ทั้งสองยกไปเองเท่านั้น ดูเอาเถิดเหตุการณ์เหมือนกรุงเทพ พ.ศ.๒๕๔๙มั้ย**



***พระเจ้าตากสินฯทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่เริ่มทุกอย่างจากศูนย์ จากที่มีทหารเพียงแค่ห้าร้อยคน ทรงกระทำการจากเล็กๆเรื่อยไปจนถึงการใหญ่ซึ่งนั่นคือการ สถาปนากรุงธนบุรี ราชธานีใหม่ที่มีกองทัพกว่าสองแสนคน ไว้เป็นที่สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับคนไทย การเมืองการปกครองในกรุงธนบุรีในยุคเริ่มแรกนั้นร่มเย็นเป็นสุข เพราะกรุงธนบุรีมักจะเป็นฝ่ายรุกในเรื่องของการทหาร ไพร่ฟ้าประชาชนในเมืองจะปลอดภัยจากข้าศึก เพราะกองทัพของพระเจ้าตากสินฯจะยกพลไปรบในดินแดนข้าศึกเป็นส่วนใหญ่ พระเจ้าตากสินฯทรงมีนโยบายทางการทหารเป็นแนวเชิงรุก อาณาจักรใกล้เคียงต่างยอมอยู่ใต้เศวตฉัตร เพราะกรุงธนบุรีมีกองทัพที่เข้มแข็งและยุทธวิธีในการรบก็ไม่เหมือนใครเป็นแบบใหม่ที่ไม่อาจมีใครแก้ทางศึกได้ พระราชอาณาจักรจึงกว้างขวางยิ่งกว่าในสมัยราชธานีเดิม แม้แต่กษัตริย์มังระของพม่าก็ยังครั่นคร้ามในพระบรมเดชานุภาพ ถึงกับย้ายที่ตั้งมั่นจากเมืองตองอูสลับกลับเมืองแปร เมื่อใดที่ได้ข่าวกองทัพกรุงธนบุรียกมาใกล้ ก็จะย้ายไปอยู่เมืองแปร ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปอีกในดินแดนพม่า หากเหตุการณ์ปกติก็จะประทับอยู่ที่เมืองตองอู เพราะกษัตริย์มังระของพม่าพระองค์นี้ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ตองอู









จากการที่พระเจ้ามังระของพม่านั้นเป็นนักการทหารที่มีฝีมือองค์หนึ่งของพม่ามาก่อนนั้น พระองค์ทรงรู้ดีถึงแสนยานุภาพในทางการทหารของกรุงธนบุรีว่ากองทัพพม่าของพระองค์นั้นไม่สามารถรับมือได้เพราะกองทัพพม่าใช้ช้างเป็นหลัก การวางกำลังตามแบบเบญจเสนา5ทัพของพระนเรศวรนั้นยิ่งทวีประสิทธิภาพมากเป็นทวีคูณเมื่อพระเจ้าตากสินฯทรงใช้กองทัพทหารม้าเป็นหลัก สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ และกองทหารปืนนกสับ การเคลื่อนกำลังพล การบำรุงรี้พลการใช้กองหนุนและหน่วยรบพิเศษบนหลังม้า เหล่านี้ล้วนแต่เป็นศาสตร์ทางทหารแบบใหม่ที่พระเจ้าตากสินฯทรงต่อยอดความรู้มาจากตำราพิชัยสงครามเบญจเสนาห้าทัพของพระนเรศวรฯทั้งสิ้น แม้แต่เวียดนาม อาณาจักรที่อยู่ห่างไกลกรุงธนบุรียิ่งนัก พระองค์ก็เสด็จยกทัพบกทัพเรือไปตีมาแล้ว แคว้นมลายู ปัตตานี ลานช้าง ลานนา เชียงตุง เชียงรุ้ง กองทัพกรุงธนบุรียาตราไปตีไปยึดมาแล้วทั้งสิ้น นี่คือตัวอย่างของอาณาจักรที่มีกองทัพเข้มแข็งเกรียงไกร ยาตราทัพไปทิศใดไพรีก็พินาศ***



****กรุงธนบุรีและพระเจ้าตากสินฯ เริ่มมีปัญหาในทางการปกครองจากการที่รับเอาขุนนางเก่าของอยุธยามารับราชการ ขุนนางพวกนี้รังเกียจพระองค์เรื่องสายเลือดและเชื้อชาติอยู่แล้วในใจ นานวันไปขุนนางพวกนี้มาเติบใหญ่ในทุกวงราชการ ทั้งทหารและพลเรือน เมื่อเริ่มมีอำนาจก็เข้าอีหรอบเดิมเหมือนเมื่อครั้งอยู่กรุงเก่า เริ่มแบ่งพรรคแย่งพวก เริ่มตั้งข้อเปิดประเด็นเรื่องคนจีนและขุนนางที่มีเชื้อสายจีน ทั้งๆที่คนเชื้อสายจีนอย่างพระองค์นี่แหล่ะที่ปลดแอกพม่าให้คนไทย ระบบศักดินาเก่าแบบอยุธยาเริ่มกลับมามีบทบาทแทนพ่อปกครองลูกแบบสุโขทัยที่พระเจ้าตากสินฯทรงนำมาใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น