หน่วยการเรียนรู้ที่3

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
กฎหมายเลือกตั้ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม 

กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์
       - เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน
       - เมื่อมีคนตายต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชม.
       - เมื่อย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งภายใน 15 วัน

กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร        - ชายไทยที่มีสัญชาติไทย อายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีพลทหารกองเกินภายในเขตภูมิลำเนาของตน
       - เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกและต้องทำการตรวจเลือกเพื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการตามกำหนดนัด
        *บุคคลที่ไม่ต้องเป็นทหารประจำการ ได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ คนพิการทุพพลภาพ       บุคคลที่ขาดความสามารถบางประการที่ไม่อาจเป็นทหารได้
กฏหมายพรรคการเมืองไทย
หมวด ๑
การจัดตั้งพรรคการเมือง

มาตรา ๘ ผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดหรือผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติซึ่งได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มีจำนวนตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไปอาจรวมกันดำเนินการจัดตั้งพรรคการเมืองได้ในการจัดตั้งพรรคการเมือง ให้ผู้จัดตั้งพรรคการเมืองจัดให้มีการประชุมเพื่อกำหนดนโยบายพรรคการเมือง กำหนดข้อบังคับพรรคการเมือง และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองการประชุมตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

มาตรา ๙ พรรคการเมืองต้องมีชื่อ ชื่อย่อ ภาพเครื่องหมาย นโยบาย และข้อบังคับพรรคการเมือง ซึ่งมีลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดความแตกแยกในเรื่องเชื้อชาติหรือศาสนาระหว่างชนในชาติไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร และไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ชื่อ ชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ซ้ำหรือพ้อง หรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับชื่อ ชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายของผู้จดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองอื่น หรือของพรรคการเมืองที่ได้จดแจ้งไว้ก่อนตามมาตรา ๑๒ หรือของพรรคการเมืองที่ถูกยุบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๑๐ ข้อบังคับพรรคการเมืองต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อและชื่อย่อของพรรคการเมือง
(๒) ภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง
(๓) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคการเมืองซึ่งต้องตั้งอยู่ในราชอาณาจักร
(๔) การเลือกตั้ง การดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง
(๕) แผนและกำหนดเวลาในการจัดตั้งสาขาพรรคการเมือง อำนาจหน้าที่ของสาขาพรรคการเมืองการเลือกตั้ง การดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการสาขาพรรคการเมือง และอำนาจหน้าที่ของกรรมการสาขาพรรคการเมือง
(๖) การประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองและการประชุมใหญ่ของสาขาพรรคการเมือง
(๗) การรับเข้าเป็นสมาชิกและการให้ออกจากการเป็นสมาชิก
(๘) สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
(๙) ความรับผิดชอบของพรรคการเมืองต่อสมาชิก
(๑๐) วินัยและจรรยาบรรณของสมาชิก กรรมการบริหารพรรคการเมือง และกรรมการสาขาพรรคการเมือง(๑๑) หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกสมาชิกเพื่อส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบสัดส่วน
(๑๒) การบริหารการเงิน ทรัพย์สิน และการจัดทำบัญชีของพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมือง
(๑๓) รายได้ของพรรคการเมือง การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองและการบริจาคแก่พรรคการเมือง
๑๔) การให้ความรู้ทางการเมืองแก่สมาชิกและประชาชนทั่วไป
(๑๕) การเลิกพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมือง


กฏหมายเบื้องต้น
กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา
กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสอดคล้อง
กับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้
เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
และสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุข
1. ความมุ่งหมายและหลักการ
การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2. หลักการจัดการศึกษา
2.1 เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
2.2 ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
2.3 การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
3. สิทธิทางการศึกษา
3.1 บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมี
คุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
3.2 บุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือ
ทุพพลภาพ หรือบุคคลไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาสจะมีสิทธิและมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น
พิเศษ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลือทางการศึกษาตามกฎหมาย
3.3 บุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษจะได้รับการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมตามความสามารถของบุคคลนั้น
3.4 บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตร หรือบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับและตาม
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว
4. ระบบการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้จัดการศึกษา 3 รูปแบบ คือการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย
4.1 การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษาหลักสูตรระยะเวลาของการศึกาา การวัดและ
ประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาอย่างแน่นอน
4.2 การจัดการศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมายรูปแบบวิธีการจัดการศึกาา
ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความ
เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญญาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
4.3 การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และ
โอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบ
ใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้
นักเรียนซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมย่อมได้รับการบริการจากรัฐเกี่ยวกับการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึง
ควรได้ศึกษาความรู้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะ
เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาซึ่งจัดได้ว่าเป็๋นส่วนหนึ่งของวิธีการ
ประชาธิปไตย ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน